Sunday, 12 August 2007

เครื่องเทศ สิ่งสำคัญมากคือปริมาณ

" อะไรกันจะบ้ากันไปใหญ่แล้ว" ครับ ผมได้ยินอยู่บ่อยจากคนรอบข้าง ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ผมลดละหรือเลิกที่จะใช้เครื่องเทศเลย ตราบใดปลาตะเพียนยังกินผักชีอยู่ ลูกผักชีก็น่าจะให็ผลดีโดยวิธีการที่แตกต่างกัน เครื่องเทศเป็นอาหารที่มีอยู่ในธรรมชาติ จึงไม่น่าที่จะมอง ข้ามไป เพราะมีให้เลือกหลายอย่าง ที่เคยใช้แล้วก็มีเช่น ผงกะหรี่, ลูกผักชี, ผงพะโล้, น้ำมันกระเทียมเจียว, อบเชย หรือแม้แต่พริกป่น สิ่งสำคัญมากคือ ปริมาณในการใช้ เพราะหากใส่มากเกินไป แทนที่ปลาจะเข้ามากินก็กลับกลายเป็นการไล่ปลาให้กระเจิดกระเจิง กระทั่ง คนเราเองยังทนกลิ่นมันไม่ได้เช่นกัน จึงต้องระวังเป็นอย่างมาก กับปริมาณที่ใช้ คือ 1 ช้อนชา/ น้ำหนักเหยื่อ 1 kg ที่เหลือสำหรับเพื่อเครื่องเทศสำเร็จรูป กระเทียมเจียว ก็ใช้ 2-3 ช้อนโต๊ะ ปลาแม่น้ำที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งชุมชนจะให้ความสนใจต่อเหยื่อเหล่านี้เป็นอย่างมาก ผมเคยเห็นเด็กๆตกปลาสายยู, ปลาสวาย ตัวขนาดข้อมือปลดปลากับมือเป็นระวิง เข้าไปถามว่าใช้เหยื่ออะไรแล้วเด็กๆ พวกนั้นก็มองหน้ากันพลางยิ้มๆ แล้วคนหนึ่งก็หยิบซองเครื่องปรุง พร้อมน้ำมันกระเทียมเจียว ของบะหมี่กึ่สำเร็จรูปยี่ห้อดัง ให้ผมดู แล้วบอกว่า "เพื่อนผมมันเตะขวดหัวเชื่อลงน้ำไปก็เลยไม่มีกลิ่นอะไรจะเติม ก็เลยลองเครื่องปรุงพร้อมน้ำมันเจียวดูครับ " ในความคิดผมตอนนี้ กระเทียมเจียวยังเป็นเหยื่อสูตรเด็ดของเด็กๆกลุ่มนั้นไปอีกนาน ในต่างประเทศก็มีการใช้เครื่องเทศผสมลงไปในเหยื่อตกปลากันอย่างแพร่หลาย ทั้งที่ผสมมากับเหยื่อบรรจุถุง สำเร็จรูป หรือนำมาผสมเอง ผมเองยังเคยนำมาใช้โดยที่ผู้ปกครอง เมื่อสมัยที่เรียนอยู่ที่อังกฤษได้นำมาให้เป็นของ ARCHIE BRADDOCKมีกลิ่นหอมมากมีลักษณะเหมือนเครื่องปรุงบะหมี่สำเร็จรูป ลองชิมดูมีรสชาติเหมือนผงกะหรี่ผสม น้ำตาล ทดลองใช้ก็ได้ผลดีทีเดียว กับการตกปลา ตะเพียน ในหน้าหนาว นอกจากวิธีที่ใช้ในการผสมลงไปในเหยื่อแล้ว ยังสามารถนำมาคลุกเคล้าหรือโรยลงบนเหยื่อที่เราใช้เกี่ยวเบ็ดก็ได้เช่นไส้เดือน, ขนมปังแผ่น, เส้นก๋วยเตี่ยว หรืออื่นๆ เหยื่อตกปลาที่มีเครื่องเทศผสมอยู่เหมาะจะใช้ตกปลาในแหล่งน้ำใหลใช้ได้ผลตลอดทั้งปี ส่วนในแหล่งน้ำนิ่งนับได้ผลดีที่สุดในฤดูหนาว คงเป็นเพราะอุณหภูมิที่เย็น จึงทำให้ปลามีกิจกรรมน้อยลงคำนึงถึงอาหารที่มีรสชาติเผ็ดร้อนและกลิ่นหอมอย่างฉุนเฉียวรุนแรง คงทำให้ปลาทั้งหลายสนใจเหยื่อของคุณ น่าลองนะครับ หากคุณมีความเห็นว่าบทความนี้มีสาระกรุณาสนับสนุน บล๊อคนี้ที่เอื้อเฟื้อพื้นที่ด้วยการ กลับไปที่หน้าแรกแล้วเลือกชมเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องที่ด้านบนครับ

Labels:

0 Comments:

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]

<< Home